เมนู

อรรถกถาเทวทัตตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในเทวทัตตสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อจิรปกฺกนฺเต เทวทตฺเต ความว่า เมื่อเทวทัตทำสังฆเภท
แล้ว หลีกไปไม่นาน. บทว่า ปราภวาย ได้แก่ เพื่อความเสื่อม เพื่อความ
พินาศ. บทว่า อสฺสตรี ความว่า ม้าอัสดร เกิดในท้องของแม่ฬา. บทว่า
อตฺตวธาย คพฺภํ คณฺหาติ ความว่า คนทั้งหลายผสมแม่ฬานั้นกับพ่อม้า
แม่ม้าอัสดรนั้น ตั้งท้องแล้ว เมื่อถึงเวลาก็ออกลูกไม่ได้ ยืนเอาเท้าทั้ง 2
ตะกุยแผ่นดิน เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาจึงผูกเท้าทั้ง 4 ของมันไว้ที่หลัก 4 หลัก
ผ่าท้องนำลูกออก มันจึงตาย ณ ที่นั้นเอง ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสถึงแม่ม้าอัสดรนั้น.
จบอรรถกถาเทวทัตตสูตรที่ 8

9. ปธานสูตร


ว่าด้วยความเพียร 4


[69] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปธาน (ความเพียร) 4 ประการนี้
ปธาน 4 คืออะไรบ้าง คือ สังวรปธาน (เพียรระวัง) ปหานปธาน
(เพียรละ) ภาวนาปธาน (เพียรบำเพ็ญ) อนุรักขนาปธาน (เพียรตาม
รักษาไว้)
ก็สังวรปธานเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้
เกิด พยายาม ทำความเพียร ประคองจิต ตั้งใจไว้ เพื่อยังอกุศลบาปธรรมที่
ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังวรปขาน.

ปหานปธานเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้
เกิด พยายาม ทำความเพียร ประคองจิต ตั้งใจไว้ เพื่อละอกุศลบาปธรรม
ที่เกิดแล้ว นี้เรียกว่า ปหานปธาน.
ภาวนาปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้
เกิด พยายาม ทำความเพียร ประคองจิต ตั้งใจไว้ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน.
อนุรักขนาปธานเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะ
ให้เกิด พยายาม ทำความเพียร ประคองจิต ตั้งใจไว้ เพื่อให้กุศลธรรมที่
เกิดแล้วคงอยู่ ไม่เลือนหายไป ให้ภิยโยภาพไพบูลย์เจริญเต็มที่ นี้เรียกว่า
อนุรักขนาปธาน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล ปธาน 4 ประการ
เพียรระวัง 1 เพียรละ 1 เพียรบำเพ็ญ
1 เพียรตามรักษาไว้ 1 ปธาน 4 ประการ
นี้ พระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
ทรงแสดงไว้ เป็นเครื่องให้ภิกษุผู้มีความ
เพียร ในพระศาสนานี้บรรลุถึงความสิ้น
ทุกข์.

จบปธานสูตรที่ 9

อรรถกถาปธานสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในปธานสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
ความเพียร เพื่อระวังกิเลส คือ เพื่อปิดทางเข้าของกิเลสชื่อสังวรปธาน
(เพียรระวัง) เพียรเพื่อละชื่อปหานปธาน (เพียรละ) เพียรเพื่อเจริญกุศลธรรม
ชื่อภาวนาปธาน (เพียรบำเพ็ญ) เพียรเพื่อตามรักษากุศลธรรมเหล่านั้น ชื่อ
อนุรักขนาปธาน (เพียรตามรักษาไว้).
จบอรรถกถาปธานสูตรที่ 9

10. ธัมมิกสูตร


ว่าด้วยพระราชาประพฤติไม่เป็นธรรมและเป็นธรรม


[70] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด พระราชาทั้งหลายประพฤติ
ไม่เป็นธรรม ในสมัยนั้น แม้ข้าราชการทั้งหลาย ก็พลอยประพฤติไม่เป็นธรรม
เมื่อข้าราชการประพฤติไม่เป็นธรรม พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายก็ประพฤติ
ไม่เป็นธรรมบ้าง เมื่อพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายประพฤติไม่เป็นธรรม
ชาวบ้านชาวเมืองก็ประพฤติไม่เป็นธรรมไปตามกัน ครั้นชาวบ้านชาวเมือง
ประพฤติไม่เป็นธรรม ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ก็โคจรไม่สม่ำเสมอ ครั้น
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ โคจรไม่สม่ำเสมอ ดาวนักษัตรทั้งหลายก็เดินไม่เที่ยงตรง
ครั้นดาวนักษัตรทั้งหลายเดินไม่เที่ยงตรง คืนและวันก็เคลื่อนไป ครั้นคืนและ
วันเคลื่อนไป เดือนและปักษ์ก็คลาดไป ครั้นเดือนและปักษ์คลาดไป ฤดูและ
ปีก็เคลื่อนไป ครั้นฤดูและปีเคลื่อนไป ลมก็พัดผันแปรไป ครั้นลมพัด